ข้อมูล UK - Hearts & Minds International Education

ข้อมูล UK - The UK Education System

อังกฤษ

The UK Education System

The UK Education System (ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ)

ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ ได้รับการกล่าวขานว่ามีคุณภาพดีเยี่ยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล วุฒิการศึกษาในระดับต่างๆ สามารถนำไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในประเทศอื่นๆ ได้

โดยทั่วไประบบการศึกษาของอังกฤษสามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ

  • การศึกษาระดับปฐมวัย (Early Year)
  • การศึกษาระดับประถม (Primary Education)
  • การศึกษาระดับมัธยม (Secondary Education)
  • การศึกษาระดับสูงอื่นๆ (Further Education)
  • การศึกษาในระดับปริญญา (Higher Education)

ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษอาจจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยตามเขตการบริหารการจัดการ คือ อังกฤษ เวลส์ และสก๊อตแลนด์ การศึกษาภาคบังคับของประเทศอังกฤษเริ่มต้นที่อายุ 5 ปีจนถึง 16 ปี ซึ่งเป็นการเรียนในระดับโรงเรียน และแบ่งออกเป็นระดับชั้นเรียกว่า Key Stage

  • Key Stage 1: อายุ 5-7 ปี (Year 1-4)
  • Key Stage 2: อายุ 7-11 ปี (Year 4-7)
  • Key Stage 3: อายุ 11-14 ปี (Year 7-9)
  • Key Stage 4: อายุ 14-16 ปี (GCSE, Year10-11)
  • Key Stage 5: อายุ 16-18 ปี (Year12-13)

 

Primary Education

Key stage 1 ระดับอายุ 5-7 ปี

เป็นการเรียนการสอนในระดับความรู้พื้นฐาน วิชาต่างๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ การอ่าน หลักไวยากรณ์ การสะกดคำ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พละศึกษา ภูมิศาสตร์ และดนตรี เป็นต้น และจะมีการวัดผลความสามารถภายในแต่ละโรงเรียน

 

Key Stage 2: อายุ 7-11 ปี

การเรียนระดับนี้จะเพิ่มเติมความรู้ในวิชาหลักๆ คือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พละศึกษา ภูมิศาสตร์ ดนตรี เป็นต้น  เหมือนในระดับ Key stage 1 และจะมีการวัดผลความสามารถในระดับประเทศหรือการสอบภายในของแต่ละโรงเรียนเช่นกัน

 

 

Secondary Education

Key Stage 3: อายุ 11-14 ปี

การเรียนในระดับนี้มีความสำคัญมากเนื่องจาก อีกไม่กี่ปีข้างหน้านักเรียนจะต้องเข้าเรียนในระดับ GCSE และการเรียนในระดับนี้จะได้เรียนวิชาใหม่ๆ เพิ่มเติม รวมถึงเพิ่มเติมความรู้ในวิชาหลักๆ ที่ได้เรียนมา วิชาที่จะได้เรียนในระดับนี้ ประกอบไปด้วย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ ดนตรี พละศึกษา Modern Foreign Languages และ Design and Technology and Computing เป็นต้น

 

Key Stage 4: อายุ 14-16 ปี (GCSE)

การเรียนในระดับ Year 10 และ Year 11 หรือที่เราเรียกว่า GCSE (General Certificates of Secondary Education) ปกติจะเป็นหลักสูตร 2 ปี แต่ก็อาจจะมีหลักสูตรแบบเร่งรัดที่เรียกว่า 1 year GCSE โดยจะใช้เวลาเรียนเพียงแค่ 1 ปีซึ่งจะมีความเข้มข้นและนักเรียนจำเป็นจะต้องมีพื้นฐานภาษาอังกฤษและวิชาการที่ค่อนข้างดีพอสมควร การเรียนในระดับนี้จะประกอบไปด้วยวิชาบังคับ 4-5 วิชา และวิชาเลือกอีก 3-5 วิชา รวมทั้งหมด 8-10 วิชา สำหรับวิชาบังคับหลักๆ คือ วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจจะเป็นแบบรวมหรือแยกวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และวิชาเลือกหลากหลาย เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ธุรกิจ ศิลปะ ดนตรี การแสดง ภาษาสเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน เป็นต้น รวมทั้งจะมีวิชาที่ไม่มีการสอบวัดผล เช่น บุคคล สังคมและสุขภาพ (PSHE) ในระดับนี้จะมีการสอบวัดผลตอน Year 11 ถือเป็นการสอบที่มีความสำคัญที่สุดในการศึกษาภาคบังคับนี้ โดยทั่วไปนักเรียนจะทำการสอบในระดับประเทศหรือนานาชาติที่เรียกว่า GCSE หรือ iGCSE และควรจะผ่านอย่างน้อย 5 วิชา เพื่อนำไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น  

 

Key Stage 5: อายุ 16-18 ปี

Further Education

หลังจากการเรียนในระดับ GCSE นักเรียนสามารถออกไปทำงานหรือเลือกเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ หากเลือกเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ 2 แบบคือ

  1. Academic Qualifications: นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนมากจะเรียนต่อในระดับชั้น Sixth Form (Year12-13) โดยจะเปิดสอนกันตามโรงเรียนมัธยมโดยส่วนใหญ่ หรือตาม Six Form Colleges โดยคุณวุฒิที่เรียนจะเรียกว่า A-levels (Advanced Levels) นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถเลือกเรียนหลักสูตร International Baccalaureate - IB ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ยอมรับในระดับสากล

 

การเรียน A-Level เป็นหลักสูตร 2 ปีคือ Year12 และ Year13 โดยในระดับนี้นักเรียนจะเลือกเรียนเพียง 3-4 วิชาในปีแรก และเหลือเพียง 3 วิชาในปีที่ 2 ซึ่งวิชาเรียนจะเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาที่นักเรียนต้องการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เช่น หากต้องการเรียนต่อในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ควรเลือกเรียน Mathematics, Physics and English เป็นต้น และจะมีการสอบวัดผลตอนปลาย Year 13 เพื่อนำผลไปยื่นต่อในระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงนักเรียนต่างชาติจำเป็นต้องยื่นคะแนน IELTS (International English Language Testing System) ประกอบด้วย

               

  1. Vocational Qualifications: เหมาะสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาทางสายวิชาการมากนัก แต่ยังต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป สามารถเลือกเรียนในหลักสูตร Vocational ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาชีพได้ โดยหลักสูตรที่เปิดสอน เช่น BTEC (Business and Technology Education Certificate) และ GNVQ (General National Vocational Qualification) เป็นต้น

 

Higher Education (อายุ 18 ปีขึ้นไป)

Undergraduate Level การศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี Bachelor Degree ที่ประเทศอังกฤษ หลักสูตรปริญญาตรีทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี หรือ 4-6 ปีในบางสาขา หรือจะใช้เวลา 4 ปีสำหรับมหาวิทยาลัยในสก๊อตแลนด์ ในการรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีนี้ จะต้องเรียนจบในระดับ A-level หรือสามารถเลือกเรียนหลักสูตรที่เชื่อมต่อกับหลักสูตรปริญญาตรีที่เรียกว่า University Pathway หรือ Foundation หรือเทียบเท่า: SVQ (Scottish Vocational Qualifications), NVQ (National Vocational Qualifications) Higher National Diploma HND (or equivalent), NHC (or equivalent) etc นอกจากนี้ยังมี ประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาตรี Graduate Diplomas และ Graduate Certificates ด้วย

 

Postgraduate Level หลักสูตรระดับปริญาโทและปริญญาเอก

การเรียนในระดับปริญญาโท (Master Degrees) จะแบ่งหลักสูตรที่เป็น coursework หรือ Taught course และการทำวิจัย หรือ research หลักสูตรแบบ Taught course จะใช้เวลาเพียง 1 ปี โดยเกณฑ์ในการรับเข้าเรียนทั่วไปจำเป็นต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หากคุณสมบัติของผู้สมัครไม่ครบอาจจะต้องมีการเรียนหลักสูตรที่เรียกว่า Pre-Master ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน (1-2 เทอม) โดยทั่วไปหลักสูตรปริญญาโทจะแบ่งเป็น 2 คุณวุฒิใหญ่ๆ คือ Master of Arts and Master of Sciences และ MBA และจำแนกตามสาขาเฉพาะที่เรียน เช่น Master of Science in Engineering, Master of Arts in Education เป็นต้น  นอกเหนือจากนี้ยังมีหลักสูตร Postgraduate diplomas, postgraduate certificates of education (PGCE) and professional degrees ให้เลือกเรียนอีกด้วย

 

หลักสูตรระดับปริญญาเอก (Doctoral Degree/PhD)  เป็นหลักสูตรที่ใช้เวลาประมาณ 4-6 ปีขึ้นอยู่กับสาขาวิชา และเป็นการทำวิจัย การเรียนต่อในระดับปริญญเอกจำเป็นจะต้องจบในระดับปริญญาโทแบบทำวิจัย (Master by research) และนำเสนอหัวข้อและแผนร่างงานวิจัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยพิจารณาเพื่อหาอาจารย์ที่ปรึกษา

 

ในการสมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาตรี โทและเอก นักเรียนต่างชาติจำเป็นที่จะต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ (IELTS-UKVI) ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด แต่หากไม่ถึงเกณฑ์ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีหลักสูตรรองรับที่เรียกว่า Pre-sessional programme เพื่อปรับระดับภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจจะใช้เวลา 4 สัปดาห์ จนถึง 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับคะแนนภาษาอังกฤษที่ได้ โดยบางมหาวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตร pre-sessional สูงสุดถึง 40 สัปดาห์

Education.jpg (46 KB)

Resourses:

https://www.studying-in-uk.org/uk-education-system-guide/

เกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อในระดับต่างๆ

เกณฑ์การรับนักศึกษาต่างชาติเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระดับและสาขา โดยปกติแล้วจะพิจารณาจากคุณสมบัติพื้นฐานของผู้สมัคร

  • การสมัครเรียนในระดับโรงเรียน

โดยทั่วไปจะพิจารณาจากผลการเรียนที่ผ่านมา Transcript หรือ School report และมีการสอบสัมภาษณ์เพื่อวัดระดับภาษาอังกฤษในการสื่อสาร สำหรับการรับเข้าเรียนในระดับ GCSE และ A-level อาจมีการทดสอบวิชาการอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ สำหรับบางโรงเรียนนักเรียนต่างชาติอาจต้องมีการยื่นผลสอบภาษาอังกฤษที่เรียกว่า UKiset หรือ IELTS ด้วย

ใน 1 ปีการศึกษา ระดับโรงเรียนจะมี 3 เทอม คือ

เทอม 1 ซึ่งเป็นเทอมหลักในการเปิดเรียนคือเดือน กันยายน-ธันวาคม (Autumn Term)                 

เทอม 2 เริ่มเดือนมกราคม - มีนาคม (Spring Term) และ

เทอม 3 เริ่มเดือนเมษายน-กรกฎาคม (Summer Term)

  • การสมัครเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย

เกณฑ์การรับเข้าเรียนในระดับปริญญาในมหาวิทยาลัย มีความแตกต่างกันตามระดับและสาขาวิชา มหาวิทยาลัยจะเปิดเรียนเทอมหลักในเดือนกันยายนสำหรับทุกสาขาวิชา และอาจจะมีการเปิดรับในเดือนมกราคมเพิ่มเติมสำหรับบางสาขา บางมหาวิทยาลัยอาจมีการเปิดรับในเดือนพฤษภาคมด้วย เอกสารที่ใช้ยื่นในการสมัครเข้าเรียนทั่วไปได้แก่

  • ผลการเรียนล่าสุด Transcript
  • คะแนนภาษาอังกฤษ (IELTS UKVI /TOEFL/CET) ระดับปริญญาตรี IELTS 5.5-6.5 ระดับปริญญาโทและเอก 0-8.0 ขึ้นอยู่กับสาขาวิชา
  • Statement of Purpose (SOP) คือ จดหมายแสดงจุดประสงค์ในการเข้าเรียน
  • Reference จากอาจารย์และ/หรือนายจ้าง 2 ฉบับ
  • ผลงาน Portfolio สำหรับสาขาด้านศิลปะ การออกแบบ (Arts and Design/ Multimedia or Animation)
  • Resume ประวัติการทำงาน (ถ้ามี)
  • หัวข้องานวิจัย (Concept Proposal) สำหรับหลักสูตรปริญญาโทแบบวิจัยและปริญญาเอก

ค่าเล่าเรียนในประเทศอังกฤษ

ระดับการเรียน

ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ (2019/2020)

ประถมศึกษา (Primary School)

9 แสน – 2 ล้านบาท ต่อปี

มัธยมศึกษา (Secondary School)

1-2 ล้านบาท ต่อปี

ปริญญาตรี (Bachelor degree)

4.9 แสน – 1 ล้านบาท ต่อปี

ปริญญาโท (Master Degree)

4.9 แสน – 1.5 ล้านบาท ต่อ ปี

MBA

5 แสน – 2 ล้านบาท

ปริญญาเอก (Doctoral Degree)

8 แสน - 1.2 ล้านบาท ต่อปี

หมายเหตุ: ค่าเล่าเรียนข้างต้นคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนที่ 40 บาทต่อ 1 GBP และเป็นค่าเล่าเรียนโดยประมาณ ไม่รวมค่าธรรมเนียมอื่นๆ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง  

 

ค่าใช้จ่ายส่วนตัวในประเทศอังกฤษ

แผนกวีซ่าของประเทศอังกฤษมีการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าที่พักสำหรับนักเรียนนักศึกษาแต่ละเดือน* สำหรับ Tier 4 (General) โดยขึ้นอยู่กับที่ตั้งของสถาบันที่เรียน แยกเป็นในเขตลอนดอน และนอกเขตลอนดอน โดยหากอยู่ในเขตลอนดอน ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ GBP1,265 ต่อเดือน (ประมาณ 56,925 บาท) แต่หากอยู่นอกเขตลอนดอน ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ GBP 1,015 ต่อเดือน (ประมาณ 45,675 บาท) รายละเอียดเพิ่มเติม Guidance to be used for all Tier 4 applications made on or after 26 June 2019 *https://www.gov.uk/tier-4-general-visa/documents-you-must-provide

เงื่อนไขการทำงานพิเศษระหว่างเรียนในประเทศอังกฤษสำหรับผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน (Work conditions)

ผู้ที่ได้รับการอนุมัติวีซ่านักเรียน จะได้รับอนุญาตให้สามารถทำงานแบบ Part-time ได้ หรือเป็นการทำงานที่เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรที่เรียน โดยจะมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนชั่วโมงในการทำงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลักสูตรและสถาบันที่ลงเรียนในประเทศอังกฤษ

ประเภทหลักสูตร

10 ชั่วโมงในช่วงเปิดเทอม และสามารถทำงาน Full-time ได้ในช่วงปิดเทอม

20 ชั่วโมงในช่วงเปิดเทอม และสามารถทำงาน Full-time ได้ในช่วงปิดเทอม

หลักสูตรเต็มเวลาระดับปริญญา (RQF level 6 หรือเทียบเท่า) ในสถาบันที่อยู่ในการสนับสนุนของรัฐประเภท HIE (Higher Education Institute) หรือหลักสูตรระยะสั้นแบบ Study Abroad ในประเทศอังกฤษ

 

 

 

 

หลักสูตรเต็มเวลาระดับต่ำกว่าปริญญา (RQF level 6หรือเทียบเท่า) ในสถาบันที่อยู่ในการสนับสนุนของรัฐประเภท HIE (Higher Education Institute)

 

 

 

 

หลักสูตรสำหรับผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน Tier 4 (Child) ที่มีอายุมากกว่า 16 ปีขึ้นไป

 

 

 

หลักสูตร Part-time / หลักสูตรในระดับวิทยาลัยรัฐบาลหรือสถาบันเอกชน และนักเรียนที่ถือวีซ่า Tier 4 (Child) ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี

 

ไม่อนุญาตให้ทำงาน

รายละเอียดเพิ่มเติม Guidance to be used for all Tier 4 applications made on or after 26 June 2019

ข่าวสารทั้งหมด
ข่าวสารอื่นๆ
คำสงวนลิขสิทธิ์ (Copyright)

เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข้อมูลทั้งหมด เช่น ข้อความ กราฟิก รูปภาพ ภาพถ่าย และเสียง ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฮาร์ทส์ แอนด์ มายส์ อินเตอร์เนชั่นนอล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ห้ามคัดลอก เปลี่ยนแปลง ทําซ้ำ จัดเก็บในระบบสืบค้นหรือส่งผ่านเนื้อหาในเว็บไซต์นี้หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อหา เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทฯ

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “Cookies Policy” และสามารถเลือกตั้งค่ายินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “Accept